ความหลงทะนงตน

ความหลงทะนงตนเป็นสาเหตุหลักที่หล่อเลี้ยงความเครียด จากการสร้างภาพพจน์ให้ผู้อื่นยอมรับ มากกว่าการเรียนรู้จักตนเองอย่างถูกต้องว่ามีคุณสมบัติพื้นฐานอย่างไร และอะไรคือเป้าหมายชีวิต จึงอยู่อย่างผิดธรรมชาติ ไม่สามารถมีความสัมพันธ์ที่แท้จริงกับผู้ใด เต็มไปด้วยการคาดหวังและผิดหวัง จนกระทั่งเกิดความลังเล สับสน วนเวียนอยู่ในปัญหานานัปการ ความเคารพในตนเองและความหลงทะนงตนเป็นบุคลิกภาพที่ตรงกันข้าม ดังตารางเปรียบเทียบต่อไปนี้


ความเคารพในตนเอง

ความหลงทะนงตน
พิจารณาตนเอง แก้ไขข้อบกพร่อง ให้อภัย มองความผิดของผู้อื่น หวังให้ผู้อื่นแก้ไขก่อน ไม่ให้อภัย คิดแก้แค้น
มีความสุข พอใจในตนเอง สร้างบรรยากาศรอบตัวให้ดีขึ้น มองหาสิ่งภายนอกและผู้อื่น เพื่อให้ความพอใจแก่ตนเอง ทำลายบรรยากาศที่ดี
เรียนรู้จากสถานการณ์ได้รวดเร็ว ไม่ยึดมั่นผู้ใด สิ่งใด มีอิสระที่จะพัฒนา พัฒนาอย่างมีขีดจำกัด ยึดมั่นในความคิดเห็นของตนเอง รวมทั้งบุคคล สิ่งของด้วยสำนึกที่ครอบครองเป็นเจ้าของ
อ่อนน้อมถ่อมตน เห็นประโยชน์ของคำแนะนำตักเตือน หลงในความรู้ ความสามารถของตนเอง ชอบแนะนำตักเตือนผู้อื่น แต่ปฏิเสธจะรับฟัง
ยอมรับและปรับตัวได้ ไม่หวั่นไหว มีความอดทน อดกลั้น ไม่อดทน อดกกลั่น ไม่ยอมรับปรับตัว ไม่สามารถควบคุมอารมณ์ความรู้สึก
มีทัศนคติที่ดีต่อผู้อื่น จึงไม่มีศตรู แต่รู้ค่าและพร้อมจะให้ความรัก-เคารพ ดูหมิ่นผู้อื่น จึงรู้สึกโดดเดี่ยว และปฏิเสธการเกี่ยวข้อง ที่ต้องเป็นฝ่ายให้ความรัก-เคารพ แต่กลับเรียกร้องต้องการ
ไม่ต้องการพิสูจน์ว่าตัวเองถูกต้อง ไม่ประณาม เปรียบเทียบ แข่งขันว่าร้ายใคร ต้องการเกียรติยศ ชื่อเสียง พยายามพิสูจน์ตัวเองว่าถูกต้อง ทนการดูถูกดูหมิ่นไม่ได้ ชอบประณาม
ช่วยเหลือให้ความร่วมมือกับทุกคนอย่างบริสุทธิ์ใจ ช่วยเหลือให้ความร่วมมืออย่างผิวเผิน เพราะคาดหวัง ไม่จริงใจ
รักษาสมดุลของการกระทำอย่างสม่ำเสมอ เป็นธรรมชาติด้วยสำนึกของการเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี ทำอะไรเกินเหตุหรือน้อยไปไม่สม่ำเสมอ ไม่เป็นธรรมชาติจากการมีทั้งปมเด่น และปมด้อย
เผชิญอุปสรรคอย่างมั่นใจ มั่นคง สงบเยือกเย็น กล้าแสดงออกในทางที่ดี ไม่กล้าเผชิญอุปสรรค ล้มเหลว ปกปิดความอ่อนแอ ความไม่มั่นคงภายในด้วยการใช้อำนาจ และความสามารถในทางที่ก้าวร้าว ไม่ถูกต้อง
มีความรู้ที่ถูกต้อง มองโลกในแง่ดี ไม่คาดหวัง จึงอยู่อย่างผู้ชนะ ขาดความรู้ที่ถูกต้อง-สมบูรณ์ มองโลกในแง่ร้าย คาดหวัง ผิดหวัง ไม่พอใจ จึงอยู่อย่างผู้พ่ายแพ้
ซื่อสัตย์ จริงใจต่อตนเองและผู้อื่น ไม่ยอมรับความจริง อยู่อย่างหลอกลวงด้วยการอวดอ้าง โกหก ปกปิด
เข้าใจธรรมชาติดั้งเดิมที่ดีงามของตนเอง มีกำลังใจเสริมสร้างความดี ไม่มีศรัทธาในสิ่งที่ดีงาม ตามธรรมชาติของตนเอง แต่สำคัญตนผิด จึงไม่สามารถเป็นอย่างที่คิดได้ หรือแม้แต่จะแก้ไขข้อบกพร่องอ่อนแอภายใน
รับผิดชอบ รอบคอบ ตอบสนองวัตถุประสงค์เป็นอย่างดี พลาดพลั้ง ไม่ระมัดระวัง ไม่ตั้งใจจริงให้ทุกสิ่งสำเร็จตามวัตถุประสงค์
มีศรัทธาในสิ่งสูงสุด จึงมีพลังในการปฏิบัติตามหนทาง ที่ทำให้ตนสูงส่ง และก้าวหน้าจนถึงที่สุด ไม่ยอมรับ การศรัทธาต่อสิ่งสูงสุด และยึดติดในสิ่งที่มีขีดจำกัด ไม่สามารถปฏิบัติตามที่คิดได้ การดำเนินชีวิตจึงผิดพลาด
Om Shanti
บทความจากเอกสารแผ่นพับของ ศูนย์ ราชาโยคะ ปี พ.ศ.2534